วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (subprime mortgage crisis 2008) และยังรู้จักกันในชื่อวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ ซึ่งประเทศไทยรู้จักกันในชื่อของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกที่มีต้นเหตุมาจากสภาพคล่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการลงทุนและกู้ยืมในทรัพย์สินความเสี่ยงสูงมากเกินไปจนภาวะฟองสบู่แตกของตลาดในอเมริกา ในช่วงแรกนั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกามีการปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพราะสภาพนโยบายทางการเงินขนาดนั้นมีความคล่องสูงจึงเกิดแรงจูงใจและเกิดการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก โดยมีแนวคิดว่าในอนาคตอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะมีราคาสูงขึ้น แต่แล้วทางอเมริกาเองก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินจนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตรงกันข้ามกับราคาของอสังหาริมทรัพย์เริ่มต่ำลง จึงเกิดการผิดการชำระหนี้เป็นจำนวนมาก และตามด้วยการเริ่มต้นยึดทรัพย์สินที่ใช้ค้ำประกันในการกู้เงินอย่างรวดเร็วในช่วง ปี 2006 และกลายเป็นปัญหาทางการเงินที่แพร่กระจายไปทั่วโลกในปี 2008
สำหรับสาเหตุที่เป็นต้นตอของการเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2008 นั้นเชื่อว่ามีสาเหตุที่ซับซ้อนหลาย ๆ อย่างที่มาจากนโยบายทางการเงินของทางรัฐบาลเอง ประกอบกับการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตเร็วมากกว่าปกติ และยังมีมาตรการทางการเงินของธนาคารที่ละหลวมปล่อยกู้ได้ง่าย จนมีผู้กู้จำนวนมาก และเมื่อเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามอย่างหวังก็เกิดการผิดชำระหนี้ตามมา ซึ่งในช่วงปี 2006 นั้นร้อยละ 36 ของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกซื้อขายกันมีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกำไรเท่านั้น