วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (subprime mortgage crisis 2008) และยังรู้จักกันในชื่อวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ ซึ่งประเทศไทยรู้จักกันในชื่อของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกที่มีต้นเหตุมาจากสภาพคล่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการลงทุนและกู้ยืมในทรัพย์สินความเสี่ยงสูงมากเกินไปจนภาวะฟองสบู่แตกของตลาดในอเมริกา ในช่วงแรกนั้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกามีการปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพราะสภาพนโยบายทางการเงินขนาดนั้นมีความคล่องสูงจึงเกิดแรงจูงใจและเกิดการกู้ยืมเงินเป็นจำนวนมาก โดยมีแนวคิดว่าในอนาคตอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะมีราคาสูงขึ้น แต่แล้วทางอเมริกาเองก็ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินจนอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ตรงกันข้ามกับราคาของอสังหาริมทรัพย์เริ่มต่ำลง จึงเกิดการผิดการชำระหนี้เป็นจำนวนมาก และตามด้วยการเริ่มต้นยึดทรัพย์สินที่ใช้ค้ำประกันในการกู้เงินอย่างรวดเร็วในช่วง ปี 2006 และกลายเป็นปัญหาทางการเงินที่แพร่กระจายไปทั่วโลกในปี 2008 สำหรับสาเหตุที่เป็นต้นตอของการเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2008 นั้นเชื่อว่ามีสาเหตุที่ซับซ้อนหลาย ๆ อย่างที่มาจากนโยบายทางการเงินของทางรัฐบาลเอง ประกอบกับการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตเร็วมากกว่าปกติ และยังมีมาตรการทางการเงินของธนาคารที่ละหลวมปล่อยกู้ได้ง่าย จนมีผู้กู้จำนวนมาก และเมื่อเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามอย่างหวังก็เกิดการผิดชำระหนี้ตามมา ซึ่งในช่วงปี 2006 นั้นร้อยละ 36 ของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกซื้อขายกันมีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกำไรเท่านั้น
Category: เหตุการณ์การเงิน
QT (Quantitative Tightening)
หลายคนคงรู้จักกับ QE (Quantitative Easing) ซึ่งเป็นนโยบายผ่อนปรนเชิงปริมาณทางการเงิน โดยสรุปแล้ว QE ก็คือการยืมเงินในอนาคตมาใช้ก่อนด้วยการพิมพ์ธนบัตรที่ไม่มีทุนทรัพย์รับรองแล้วนำไปอัดฉีดในระบบ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้เฉพาะในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ มีนโยบายทางการเงินรูปแบบใหม่เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนชื่อว่า QT (Quantitative Tightening) การกระชับเชิงปริมาณ ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับ QE QT เป็นสภาวะที่ธนาคารใหญ่ของหลาย ๆ ประเทศ หรือประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซียร่วมกันขายเงินดอลล่าที่ตนเองเก็บไว้อยู่ในคลังออกมาเพื่อ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินในประเทศตนเองมีค่าอ่อนลง และแน่นอนว่าเมื่อค่าเงินของประเทศตนเองก่อนลงนั้นก็จะมีผลดีต่อการส่งออกและสภาพคล่องทางการค้ามากในระดับหนึ่ง ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธนาคารของจีนก็ใช้วิธีการทาง QT นี้เพื่อลดค่าเงินหยวนให้ต่ำลง แต่ก็ยังคอยควบคุมความผันผวนของการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้อ่อนลงมากเกินไปจนกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและกลายเป็นปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศ วันนี้ไปหลายประเทศและหลาย ๆ กองทุนยักษ์ใหญ่เริ่มเทขายเงินทุนสำรองในสกุล USD และอีกหลายสกุลเงินที่ไม่มีทรัพย์สินรองรับ แต่กลับไปใช้รูปแบบมาตรฐานทองคำแบบเดิมซึ่งนี่อาจจะเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเงินสกุล US Dollar กำลังจะหมดค่าไปในอีกไม่ช้า เพราะในปัจจุบันนี้เงินสกุลดอลลาร์ไม่ได้ผูกติดกับมาตรฐานทองคำและสหรัฐอเมริกายังมียอดหนี้สาธารณะเกือบ 1000 ล้านล้านดอลลาร์แลกด้วย
สถานการณ์ทุนสำรองของไทยเสี่ยงต่อการเกิดต้มยำกุ้งรอบ 2 หรือไม่
ในปี 2540 ที่เกิดต้มยำกุ้งเป็นเพราะนโยบายทางการเงินที่รัฐใช้ประกอบกับทุนสำรองของไทยในสมัยนั้นมีไม่มากพอที่จะอุ้มค่าเงินทำให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยพังตั้งแต่ระดับโครงสร้าง ซึ่งในปัจจุบันนี้ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีทุนสำรองมากเป็นลำดับที่ 12 ของโลก(กันยายน 2562) ซึ่งมีมากถึง 220,531 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยที่ประมาณ 7 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามทุนสำรองระหว่างประเทศนั้นไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าระบบเศรษฐกิจของไทยจะมีความแข็งแรงมากน้อยขนาดไหน ปัจจุบันนี้มองไปข้างนอกอาจลองไปตลาดหรือห้างสรรพสินค้าต่างถูกพิษจากเศรษฐกิจโลกประกอบกับโรคระบาดโคโรน่าที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในปัจจุบันทำให้นักท่องเที่ยวและการซื้อขายส่งออกกับหลาย ๆ ประเทศกำลังถูกแช่แข็งอย่างเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ในประเทศไทยจะมีทุนสำรองมากติดอันดับ 12 ของโลกแต่ประชาชนในประเทศต่างมีกำลังซื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัดซึ่งจากสถิติแล้วหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบันสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของ GDP และจีดีพีที่วัดได้นั้นยังเป็นการคำนวณระดับมวลรวมของประเทศอีกด้วยไม่ได้สื่อถึง GDP รายหัวของคนไทยระดับทั่วไป โดยสรุปแล้วจะอาจจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินอีกครั้งในอนาคตอันใกล้เพราะประชาชนที่อยู่ระดับล่างในห่วงโซ่ของการผลิตมีกำลังซื้อต่ำลงไปเรื่อย ๆ และพืชผลทางการเกษตรของไทยยังมีราคาตกต่ำมาก ประกอบกับการเริ่มเข้าหน้าแล้งซึ่งเรียกว่าปีนี้เป็นปีที่แล้งหนักมาก
วิกฤตทางเศรษฐกิจ 2563
ในปัจจุบันนี้หลายคนต่างพูดกันไปในทิศทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังย่ำแย่และทรุดตัวไปอย่างรวดเร็วโดยเราจะนำไปเปรียบเทียบกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งที่เกิดเมื่อ พ.ศ. 2540 ในปี 2540 หรือวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้นระบบเศรษฐกิจของไทยเกิดความล้มเหลวมีสภาพพังครืนลงมาในระดับที่จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีผลกระทบจากเหตุการณ์นั้นอยู่ ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้นเพราะว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนั้นจากที่ทุกอย่างกำลังไปด้วยดีกลับทางพังลงมาในชั่วข้ามคืน เปรียบเสมือนกับเราทำต้มยำกุ้งที่ต้มน้ำให้เดือดและโยนวัตถุดิบต่าง ๆ ลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจในครั้งนี้มีเหตุผลมาจากการบริหารนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาดของตัวรัฐบาลเองที่มีการอุ้มค่าเงินให้คงตัวอยู่เสมอจนเกิดการเก็งกำไรระหว่างการแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้น ส่วนในปีนี่ก็มีนักวิเคราะห์หลายคนตั้งข้อสังเกตว่ากำลังจะเกิดวิกฤตการณ์ต้มกบซึ่งเปรียบเสมือนกับการต้มน้ำค่อย ๆ ร้อนกว่ากบจะรู้สึกตัวก็สายเกินไปเสียแล้วเปรียบเสมือนกับเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันที่ค่อย ๆ ล่มสลายไปทีละเล็กทีละน้อยจะสังเกตเห็นว่ามีห้างร้านค้า โรงงาน ปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีธุรกิจหรือช่องทางเศรษฐกิจเปิดใหม่ขึ้นมาบ้างแต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวขึ้นมาดีมากนัก สำหรับเศรษฐกิจในปี 2563 นี้มีนักวิเคราะห์หลายคนต่างบอกว่าปัญหาที่ตามมาในช่วงท้ายปีจะมีความรุนแรงมากขึ้นอีก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวประกอบกับเสถียรภาพในการปกครองของประเทศไทยเองซึ่งทำให้นักลงทุนจำนวนมากต่างย้ายฐานผลิตที่เคยอยู่ในประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
ฟองสบู่คืออะไร
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าฟองสบู่ หรือภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก คำศัพท์นี้นิยมใช้ในทางการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยระหว่างฟองสบู่ที่เด็ก ๆ เป่าเล่นกัน จะสังเกตเห็นว่าฟองสบู่ที่ออกมานั้นมีลักษณะสีสันสวยงามและลอยขึ้นไปที่สูงจนถึงระดับหนึ่งมันก็จะแตกตัวออกไปเอง ซึ่งเปรียบเสมือนกับเศรษฐกิจในสภาวะที่สินค้าหรือราคาบางอย่างมีมูลค่าสูงเกินจริงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุการปั่นราคาหรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม เหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งจะเห็นว่ามีการประกาศซื้อขายหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมากและยังมีราคาที่สูงลิ่วอีกด้วย ราคาของหน้ากากอนามัยนั้นที่สูงขึ้นมาส่วนหนึ่งก็มาจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นประกอบกับการปั่นราคาและกินกำไรระหว่างร้านค้าด้วยกันเองจนทำให้หน้ากากอนามัยธรรมดาที่มีขายตามปกติในราคา 1 บาท 50 สตางค์กลับพุ่งขึ้นไปถึงชิ้นละ 30 บาท และในอนาคตเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายลงแล้ว แน่นอนว่ายอมไม่มีใครยอมซื้อหน้ากากอนามัยในราคาที่แพงถึงชิ้นละ 30 บาท ดังนั้นหน้ากากอนามัยจึงล้นตลาดและราคาลดต่ำลงอย่างรวดเร็วประกอบกับโรงงานร้านค้าหรือโกดังต่าง ๆ ที่เตรียม สต็อคหน้ากากอนามัยไว้เพื่อขายทำกำไรก็จะกลายเป็นผู้ขาดทุนไปโดยอัตโนมัติ และจะกลายเป็นปัญหาแบบลูกโซ่ โรงงานที่ขาดทุนก็ต้องใช้วิธีการลดต้นทุนหลาย ๆ อย่างเช่นการบังคับพนักงานให้ลาออกหรือกดดันค่าจ้างงาน เมื่อพนักงานมีรายได้ที่ต่ำลงการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ก็จะลดลดลงไปด้วย และเกิดกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาได้ถ้าหากเป็นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ในระดับมหาภาพ
กรรมการนโยบายการเงินสั่งลดดอกเบี้ยเหลือ 1%
ในปัจจุบันนี้สภาวะเศรษฐกิจโลกค่อนข้างฝืดเคืองประกอบกับในประเทศไทยเองก็มีการบริหารจากทางรัฐบาลที่ไม่ค่อยมั่นคงเท่าไหร่นักจึงทำให้นักลงทุนจำนวนมากต่างหนีหายและย้ายฐานการผลิตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นทางคณะกรรมการกลุ่มนโยบายทางการเงินของไทยก็มีการจัดประชุมและสั่งให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1.25% เป็น 1% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับดอกเบี้ยที่มีค่าต่ำสุดนับจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งที่ผ่านมา หลายคนคงจะมีข้อสงสัยว่าถ้าลดดอกเบี้ยแล้วจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งจะสังเกตเห็นว่าปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแย่มากทำให้ผู้คนไม่ค่อยออกมาจับจ่ายใช้สอย คนที่มีเงินทุนอยู่ก็เก็บไว้ไม่ยอมลงทุนเพราะไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงในปัจจุบันจงทำให้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศไทยเกิดการหยุดชะงักและกลายเป็นเงินฝืด ดังนั้นการปรับลดดอกเบี้ยลงเปรียบเสมือนกับการส่งสัญญาณจากทางธนาคารว่าไม่ควรจะนำเงินที่มีฝากเก็บไว้ในธนาคารควรจะรีบถอนออกไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง ในบางประเทศนั้นที่มีภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองมาก ๆ ทางรัฐบาลจะมีนโยบายกำหนดดอกเบี้ยให้มีอัตราติดลบได้อีกด้วย เปรียบเสมือนกับถ้าหากใครที่เอาเงินไปฝากธนาคารไว้จะต้องเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารเองเพราะทางรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนหรือผู้คนถอนเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ข่าวการลดดอกเบี้ยรอบนี้ก็เป็นผลดีกับเราคนที่ยังมีหนี้สิ่งต่าง ๆ ทำให้ยอดชำระต่ำลงตามดอกเบี้ยไปด้วยดังนั้นหากใครที่ยังมีหนี้สินอยู่ก็แนะนำให้รีบชำระให้หมดก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยครั้งถัดไป
คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2563
ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นให้เกิดสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้าขนาดใหญ่อย่างประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ที่เรียกว่า America First ดังนั้นทางอเมริกาจึงมีนโยบายต่าง ๆ มากมาย อย่างการตั้งกำแพงภาษีที่สูงขึ้นหรือการกีดกันทางการค้าหลาย ๆ อย่างเพื่อเปิดทางให้เหล่านักลงทุนของอเมริกาเท่านั้น ประกอบกับในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีไวรัสโคโรน่าที่เป็นเหตุการณ์ใหญ่จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกเปรียบเสมือนกับการโดนแช่แข็งและไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากสงครามเศรษฐกิจและการระบาดของโรคนี้อีกด้วย ตั้งแต่ภาคการผลิตสินค้าการเกษตรการส่งออกต่อตลอดถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง จากการวิเคราะห์ของหลายสถาบันทางการเงินประกอบกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยของสำนักงานพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นว่าในปี 2563 นี้การส่งออกของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าไทยอีกเป็นจำนวนมาก คาดการณ์ว่า GDP ในปี 2563 นั้นจะอยู่ที่ 2.1 ถึง 3.7 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามหลายคนคงจะรู้สึกได้ว่าสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันอาจจะไม่เป็นอย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก็ได้ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าที่ระบาดประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งที่รุกคืบเข้ามาอย่างหนัก ซึ่งจะส่งผลต่อสินค้าทางการเกษตรของไทยอย่างแน่นอนนอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความล่าช้าของ พรบ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของภาครัฐที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสภาอีกด้วย
วิกฤตการณ์ทางการเงิน 1980
หลังจากที่อเมริกาประกาศแยกตัวออกจากระบบมาตรฐานทองคำ ทำให้การเงินในโลกในช่วงนั้นมีการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงไปมากหลายอย่าง ช่วงต้นปี 1970 อเมริกาได้ทำสัญญากับกลุ่มประเทศอิทธิพลที่มีทรัพยากรธรรมชาติประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยระบุเงื่อนไขว่าถ้าใครต้องการซื้อก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันเหล่านี้จะต้องใช้เงินสกุลดอลลาร์เท่านั้นจึงเป็นที่มาของรูปแบบเงิน PetroDollar ในช่วงแรกสหรัฐอเมริกาได้กำหนดนโยบายทางการเงินให้มีดอกเบี้ยที่ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีสภาพคล่องมากขึ้นจนมีคนจำนวนมากเห็นช่องทางการทำกำไรจาก PetroDollar โดยนำไปลงทุนในทรัพย์สินความเสี่ยงสูงผ่านทางสถาบันทางการเงินของลาตินอเมริกา แต่แล้วการลงทุนเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อยกู้และการฝากเงินให้กลับโปรเจคทางการค้าในระดับสเกลยักษ์ใหญ่ จนกลายเป็นผลกระทบด้านการก่อหนี้กับสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งส่วนนี้เป็นเหตุการณ์คล้ายกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งของไทยในช่วงปี 1997 ต่อมาไม่นานหลายประเทศได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อกำจัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับหนี้สกุลเงินในต่างประเทศ และในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีการปรับตัวเพื่อให้สูงมากถึงร้อยละ 10% จนหนี้สกุลเงินต่างประเทศสูงขึ้นมากโดยเฉพาะภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีการลงทุนจาก PetroDollar ใน Project ขนาดยักษ์ใหญ่ จนผู้กู้จำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้สินของตนเองได้และเกิดการเบี้ยวหนี้ ผู้ปล่อยกู้เกิดความไม่มั่นใจและเร่งเรียกเงินของตัวเองกลับคืนมาจนสภาพเศรษฐกิจของโลกในช่วงนั้น จนขาดสภาพคล่องและเกิดวิกฤตการณ์เป็นลูกโซ่