หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าฟองสบู่ หรือภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก คำศัพท์นี้นิยมใช้ในทางการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยระหว่างฟองสบู่ที่เด็ก ๆ เป่าเล่นกัน จะสังเกตเห็นว่าฟองสบู่ที่ออกมานั้นมีลักษณะสีสันสวยงามและลอยขึ้นไปที่สูงจนถึงระดับหนึ่งมันก็จะแตกตัวออกไปเอง ซึ่งเปรียบเสมือนกับเศรษฐกิจในสภาวะที่สินค้าหรือราคาบางอย่างมีมูลค่าสูงเกินจริงไม่ว่าจะด้วยสาเหตุการปั่นราคาหรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม
เหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งจะเห็นว่ามีการประกาศซื้อขายหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมากและยังมีราคาที่สูงลิ่วอีกด้วย ราคาของหน้ากากอนามัยนั้นที่สูงขึ้นมาส่วนหนึ่งก็มาจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นประกอบกับการปั่นราคาและกินกำไรระหว่างร้านค้าด้วยกันเองจนทำให้หน้ากากอนามัยธรรมดาที่มีขายตามปกติในราคา 1 บาท 50 สตางค์กลับพุ่งขึ้นไปถึงชิ้นละ 30 บาท และในอนาคตเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายลงแล้ว แน่นอนว่ายอมไม่มีใครยอมซื้อหน้ากากอนามัยในราคาที่แพงถึงชิ้นละ 30 บาท ดังนั้นหน้ากากอนามัยจึงล้นตลาดและราคาลดต่ำลงอย่างรวดเร็วประกอบกับโรงงานร้านค้าหรือโกดังต่าง ๆ ที่เตรียม สต็อคหน้ากากอนามัยไว้เพื่อขายทำกำไรก็จะกลายเป็นผู้ขาดทุนไปโดยอัตโนมัติ และจะกลายเป็นปัญหาแบบลูกโซ่ โรงงานที่ขาดทุนก็ต้องใช้วิธีการลดต้นทุนหลาย ๆ อย่างเช่นการบังคับพนักงานให้ลาออกหรือกดดันค่าจ้างงาน เมื่อพนักงานมีรายได้ที่ต่ำลงการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ก็จะลดลดลงไปด้วย และเกิดกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจตามมาได้ถ้าหากเป็นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ในระดับมหาภาพ